เรียนขับรถ จักรยานยนต์ หรือ สอบใบขับขี่ มอเตอร์ไซค์ ได้ที่โรงเรียน ทั้งภาคทฤษฎี และ ภาคปฏิบัติ รับรองโดย กรมการขนส่งทางบก และ กระทรวงศึกษาธิการ
หลักสูตรสอนขับรถ หรือ เรียนขับรถ จักรยานยนต์ อายุ 15 ปี บริบูรณ์ขึ้นไป คุณสมบัติตามกรมการขนส่งทางบกกำหนดต้องผ่านการทดสอบสมรรถภาพ ร่างกาย โดยมีหลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบสมรรถภาพร่างกายเบื้องต้นของผู้สมัครเรียน ดังนี้
- การทดสอบปฏิกิริยา
- ทดสอบความสามารถในการใช้เบรกเท้า 3 ครั้ง ในระยะเวลา น้อยกว่า หรือ เท่ากับ 0.75 วินาที หากสามารถทำได้ สองในสามครั้ง ให้ถือว่าผ่านการทดสอบ
- การทดสอบสายตา
- ทดสอบสายตาทางกว้าง ถ้าผู้เข้ารับการทดสอบสามารถมองเห็นทั้งด้านซ้ายและด้านขวา เป็นมุม กว้างข้างละตั้งแต่ 75 องศา สองในสามครั้ง ให้ถือว่าผ่านการทดสอบ
- การทดสอบสายตาทางลึก ให้ทดสอบการมองเห็นในระยะ 2.5 – 3.5 เมตร รวม 3 ครั้ง หากผลการทดสอบห่างจุดที่กำหนดไม่เกินกว่า 1 นิ้ว สองในสามครั้งให้ถือว่าผ่านการทดสอบ
- การทดสอบสายตาบอดสี ให้ผู้ทดสอบดูสีเขียว สีแดง สีเหลือง จากเครื่องทดสอบหรือแผ่นทดสอบในระดับสายตาระยะไม่น้อยกว่า 3 เมตร ให้ผู้เข้ารับการทดสอบอ่านสีตามเจ้าหน้าที่กำหนดสีละ 3 ครั้ง หากอ่านได้ถูกต้อง สองในสามครั้ง ให้ถือว่าผ่านการทดสอบ
หลักฐานการรับสมัคร
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
- รูปถ่ายหน้าตรง (ไม่เกิน 6 เดือน) ขนาด 1 นิ้ว จำนวน 4 รูป
- ใบรับรองแพทย์ (ไม่เกิน 1 เดือน)
วิชาที่สอน หลักสูตรสอนรถจักรยานยนต์ หรือ เรียนขับรถ จักรยานยนต์ (สอบใบขับขี่มอเตอร์ไซค์) พร้อมสอบขับขี่ได้ที่โรงเรียน เรียนพร้อมสอบจบหลักสูตร รับใบรับรอง นำไปออกใบขับขี่ได้ทั้วประเทศ
1. ภาคทฤษฎี ซึ่งมีเนื้อหาและชั่วโมงการอบรมและฝึกหัดขับรถ จำนวน 5 ชั่วโมง ดังนี้
(1) ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก กฎหมายว่าด้วยรถยนต์และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จำนวน 2 ชั่วโมง
(2) ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการขับขี่อย่างปลอดภัย มารยาทในการขับรถและสาเหตุและการป้องกันอุบัติเหตุ จำนวน 2 ชั่วโมง
(3) ความรู้เกี่ยวกับการบำรุงรักษารถยนต์และอุปกรณ์ควบคุมภายในรถยนต์จำนวน 1 ชั่วโมง
2. ภาคปฏิบัติ ซึ่งมีเนื้อหาและชั่วโมงการอบรมและฝึกหัดขับรถ จำนวน 10 ชั่วโมง ดังนี้
(1) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรถและพื้นฐานการขับรถยนต์ จำนวน 3 ชั่วโมง ได้แก่
– การบำรุงรักษารถและการตรวจเช็ครถประจำวัน
– การเตรียมความพร้อมในห้องโดยสารก่อนออกรถ
– การควบคุมและบังคับรถให้เคลื่อนที่ และการหยุดรถ
– การใช้คลัตช์ คันเร่ง และเบรกอย่างถูกต้อง
– การใช้เกียร์ในระดับความเร็วที่แตกต่างของรถยนต์เกียร์ธรรมดาหรือเกียร์อัตโนมัติ
– การใช้เกียร์ในสถานการณ์ต่าง ๆ
(2) การฝึกหัดขับรถตามท่าฝึกต่าง ๆ จำนวน 4 ชั่วโมง ได้แก่
– การขับรถเดินหน้าและหยุดรถเทียบทางเท้า
– การควบคุมความเร็วของรถ (การขับรถซิกแซกหรือการขับรถในทางโค้งรูปตัวเอส)
– การกลับรถทางแคบ
– การขับรถเลี้ยวมุมฉากต่าง ๆ
(3) ฝึกหัดขับรถนอกสถานที่ตามสภาพถนนจริง จำนวน 3 ชั่วโมง